ระบบการฆ่าเชื้อในสระว่ายน้ำ

              ระบบการฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ

          ถ้าคุณชอบที่จะใช้เวลาในวันหยุด หรือในช่วงเวลาว่างออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำ  ในสระว่ายน้ำสีฟ้าสวยๆ  ที่มีน้ำที่ดูใสสะอาด น่าเล่น แล้วล่ะก็....... คุณเคยสงสัยบ้างไหมว่า  สระว่ายน้ำสีฟ้าที่ดูใสสะอาดเหล่านั้นมีการบำบัดและการฆ่าเชื้อโรคน้ำในสระว่ายน้ำ อย่างไร ? ดิฉันได้เกิดข้อสงสัยดังกล่าวจึงได้หาข้อมูล และเรียบเรียงมาฝากผู้ที่สนใจและเกิดข้อสงสัย คล้าย ๆ กัน โดยสรุปได้ดังนี้...ระบบการฆ่าเชื้อโรคน้ำในสระว่ายน้ำ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มี 3 ระบบ ได้แก่

          1.  ระบบคลอรีน  เป็นระบบฆ่าเชื้อโรคที่มีราคาถูก และนิยมใช้กันมากที่สุด คลอรีนที่ใช้อยู่ในรูปของเหลว เม็ด และผงคลอรีน โดยคลอรีนจะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้เมื่อน้ำมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)  อยู่ระหว่าง 7.2 - 7.8   หากค่า pH สูงเกินไป (เป็นด่างมาก) จะต้องเติมกรดเกลือ (HCl : Hydrochloric acid)  ลงไปปรับสภาพน้ำก่อน  และถ้าน้ำในสระมีค่า pH ต่ำ (มีความเป็นกรดสูง)   จะต้องเติมสารที่เป็นด่างจำพวก Buffer หรือ Soda ash (Na2CO3 : Sodium Carbonate)เพื่อปรับค่า pH ในน้ำก่อน

              เนื่องจากสารคลอรีนอาจมีผลทำให้เกิดการระคายเคืองกับผิวหนัง  ดังนั้นการละลายคลอรีนจึงควรทำในช่วงเย็นหลังจากที่ใช้สระเสร็จแล้ว  และต้องเปิดเครื่องกรองทิ้งไว้อย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง

                   การปรับค่าคลอรีนในสระว่ายน้ำที่ให้บริการ  ให้ทำทุกวัน โดยมีค่าปริมาณคลอรีนอยู่ที่ 3 ppm ในฤดูร้อน เพราะอากาศร้อนคลอรีนจะสลายตัวเร็ว และ2 ppm ในฤดูฝน และฤดูหนาว        

                   ซุปเปอร์คลอรีน  คือ การเติมคลอรีน  2-3 เท่าจากปกติ  คือ ปรับค่าคลอรีนให้อยู่ที่ 4 ppm  โดยจะทำหลังจากวันที่มีคนลงเล่นน้ำจำนวนมาก   หรือมีตะไคร่ในสระ  หรือเพื่อทำลายแอมโมเนียและสิ่งเจือปนที่ได้สะสมไว้ในน้ำ  การทำซุปเปอร์คลอรีน สามารถทำได้ สัปดาห์ละ 1 – 2  ครั้ง 

              2.  ระบบน้ำเกลือ เป็นระบบควบคุมความสะอาดของน้ำด้วยระบบเกลือ  โดยใช้เครื่องผลิตคลอรีนอัตโนมัติจากเกลือ (Salt Water Chlorinator) ระบบนี้จะใช้เกลือธรรมชาติ (NaCl : Sodium Chloride) ในการฆ่าเชื้อโรคแทนคลอรีน โดยอาศัยวิธีทางไฟฟ้า ที่เรียกว่า Electrolysis  เกิดเป็นโซเดียมไฮโปคลอไรท์(NaOCl : Sodium Hypochlorite) และเกลือ NaCl กลับคืนมา

              น้ำเกลือเมื่อใช้ฆ่าเชื้อโรคแล้วจะไม่สูญหายไปไหน จะเติมก็ต่อเมื่อมีการทำ Back Wash คือ ล้างเครื่องกรอง หรือฝนตกจนน้ำล้นออกจากสระว่ายน้ำ ดังนั้นการเติมเกลือจะเติมประมาณปีละ 2-3 ครั้ง และน้ำเกลือจะมีความเข้มข้นเพียง 0.3% เท่านั้นเอง (ประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำตาคนเรา)              

                   ข้อดีของระบบนี้ คือ ประหยัดค่าสารเคมี เนื่องจากราคาเกลือมีราคาถูกกว่าคลอรีน  ประหยัดค่าแรงงานในการดูแลรักษา เนื่องจากไม่ต้องเติมเกลือบ่อยเหมือนคลอรีน  การใช้งานง่าย สะดวก เพราะเป็นระบบอัตโนมัติ  และติดตั้งอุปกรณ์ง่าย สามารถใช้กับสระว่ายน้ำที่มีอยู่แล้วได้

                   ข้อจำกัด คือ  ราคาค่าอุปกรณ์มีราคาสูง  น้ำมีรสชาติกร่อย  และอาจต้องถ่ายน้ำทิ้งบ่อยถ้ามีความเข้มข้นของเกลือสูง

                   ปริมาณเกลือที่ใช้ในการเดินระบบในครั้งแรกนั้นจะใช้เกลือประมาณ 3 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1 ลบ.ม.ผู้ดูแลสระจะวัดค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำเกลือ และเติมเกลือ หรือกรดอย่างอ่อน เพื่อให้น้ำในสระมีค่า pH เป็นกลาง 

              ๓.  ระบบโอโซน  เป็นระบบที่นำเอาก๊าซ โอโซน ซึ่งผลิตจากเครื่องอัดอากาศ มาบำบัดน้ำในสระ  มีประสิทธิภาพสูง สามารถฆ่าเชื้อโรคในระยะเวลาอันสั้นกว่าระบบอื่นและไม่มีสารเคมีทุกชนิดตกค้างในน้ำ

                   ระบบโอโซนเป็นระบบฆ่าเชื้อโรคที่มีศักยภาพสูงมาก เมื่อน้ำที่ผ่านโอโซนได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรคเรียบร้อยแล้ว น้ำที่สะอาดจะลงสู่สระว่ายน้ำ

                   ระบบนี้มีข้อเสียคือ  ขณะที่น้ำอยู่ในสระจะไม่มีการฆ่าเชื้อโรค จนกว่าน้ำจะกลับมาผ่านโอโซนอีกครั้ง  ดังนั้น เมื่อมีเชื้อโรคจากมนุษย์ หรือจากแหล่งต่างๆ ลงสู่สระว่ายน้ำในห้วงเวลาที่ยังไม่ได้ผ่านโอโซนเพื่อฆ่าเชื้อโรคครั้งใหม่ ( ประมาณ 3-6 ชั่วโมง)  เชื้อนั้นจะยังคงปะปนอยู่ในสระว่ายน้ำ  ทำให้เกิดโรคติดต่อแก่ผู้

     เล่นน้ำในสระเดียวกันได้  ต่อเมื่อน้ำในสระได้กลับมาผ่านเครื่องฉีดโอโซนอีกครั้ง เชื้อโรคจึงจะถูกทำลาย  ดังนั้น ในบางประเทศจึงมีกฎหมายสำหรับสระว่ายน้ำสาธารณะ ห้ามใช้ระบบโอโซนอย่างเดียว ต้องใช้ควบคู่กับระบบอื่น ( เช่น ใช้คลอรีน หรือน้ำเกลือ ) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ

          จากการเปรียบเทียบ ระบบสระว่ายน้ำ ทั้ง 3 ระบบ ระบบบำบัดน้ำสระว่ายน้ำที่ดีที่สุดในโลกขณะนี้ คือ ระบบน้ำเกลือ โดยประเทศออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศที่มีสระว่ายน้ำมากที่สุดในโลก ใช้ระบบเกลือมากกว่า 90 % ของสระว่ายน้ำทั้งหมด

          ข้อดีของสระว่ายน้ำระบบเกลือ                

1.      ไม่ทำให้ระคายเคืองต่อผิวหนังของคนเรา และไม่มีกลิ่นสารเคมีติดตามตัวหลังว่ายน้ำ

2.      ดีต่อสุขภาพไม่ทำให้แสบตา หรือตาแดง สามารถว่ายน้ำได้ตลอดเวลา

3.      ไม่ทำให้ผมแห้งแข็งกระด้าง

4.      ช่วยให้คุณประหยัดเวลารวมถึงค่าใช้จ่ายเพราะไม่ต้องเติมบ่อยเหมือนคลอรีน

5.      เป็นการฆ่าเชื้อโรค ทำให้น้ำใสสะอาด เกลือหรือน้ำเกลือที่ใช้ล้างจะไม่สูญหายไปไหน

6.       เหมาะสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ และใช้เวลาว่ายน้ำได้นาน และยังทำให้ผิวชุ่มชื่น

7.      สะดวกง่ายต่อการจัดเก็บและขนย้ายมีความปลอดภัย

8.      การทำความสะอาดล้างสระว่ายน้ำ ไม่มีสิ่งปนเปื้อนตกค้างในสระว่ายน้ำ เพียงแค่เทเกลือละลายในน้ำในปริมาณที่เหมาะ และใช้เครื่องมือวัดความเป็นด่าง ช่วยให้ประหยัดเวลาเพราะว่าคุณสมบัติของเกลือมีความบริสุทธิ์สามารถฆ่าเชื้อโรคและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

เรียบเรียงโดย น.ท.หญิงรัชนีย์ รุกขชาติ


  • สระว่ายน้ำเขียว.jpg
    ปัญหาสระว่ายน้ำที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไข 1.น้ำเขียว น้ำเขียวมักจะมีสาเหตุมาจากการขาดการดูแลหรือขาดสารเคมีทำให้สาหร่ายและตะไคร่เจริญเติบโต เป็นผลทำให้น้ำมีสีเขียวถ้าทิ้งไว้นานก็ยิ่งเ...

  • ออกแบบสระว่ายน้ำ.jpg
    การออกแบบสระว่ายน้ำ วิธีการออกแบบ สระว่ยน้ำ แบบบนดิน ( ฐานราก / เสาเข็ม เป็นอย่างไร) และ บนดาดฟ้า รวมทั้งข้อกำหนด ของ วสท. โดยทั่วไปสามารถออกแบบslab ก้นสระเป็น 2 แบบ 1. เป...

  • รายการคำนวณสระว่ายน้ำ.jpg
    เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียดกรุณาใส่ข้อความ …

  • สระว่ายน้ำระบบเกลือ.jpg
    การผลิตคลอรีนจากระบบเกลือ ระบบเกลือ (Salt System) การฆ่าเชื้อโรคด้วยระบบเกลือเป็นระบบที่สร้างคลอรีนมาจากเกลือโดยผ่านกระแสไฟฟ้าลงไปในสารละลายเกลือที่เรียกว่า Electrolysis จากขั้วหนึ...

  • การสำรวจบ้านก่อนมีสระว่ายน้ำ.jpg
    ขั้นตอนการสำรวจบ้านก่อนมีสระว่ายน้ำ คิดจะมีสระว่ายน้ำไว้ที่บ้านของตัวเอง แต่ก่อนที่คุณจะเริ่มทำสระว่ายน้ำนั้นมี 6 ข้อที่ควรรู้ นั่นคือ พื้นที่บ้านเหมาะจะมีสระว่ายน้ำหรือไม่ ก่...

  • สระว่ายน้ำเด็ก.jpg

  • สระว่ายน้ำตามหลักฮวงจุ้ย 1.jpg
    สระน้ำในสวนตามหลักฮวงจุ้ย น้ำในหลักวิชาฮวงจุ้ยจะหมายถึงการส่งเสริมเรื่องโชคลาภการเงิน หรือสลายพลังที่ไม่ดีที่กระทบเข้ามาให้เกิดสิ่งที่ดีแทนได้ คนส่วนมากที่พอมีพื้นที่สวนภา...

  • สระมาตรฐาน.jpg
    สระว่ายน้ำมาตรฐาน สำหรับกีฬาว่ายน้ำ • ความยาวของสระว่ายน้ำมาตรฐาน เท่ากับ 50 เมตร ความกว้าง เท่ากับ 25 เมตร โดยมีเลนแข่ง 8 เลน แต่ละเลนกว้าง 7-9 ฟุต น้ำในสระจะลึกอย่างน้อย 4 ฟุต(1...
Visitors: 363,242